เกษียณ อย่าง “SMART”
ณ ตอนนี้คงไม่มีใครไม่รู้จัก แจ็ค หม่า ผู้ก่อตั้ง Alibaba บริษัท e-commerce รายใหญ่ของจีน แจ็ค หม่า กลายเป็นบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในจีน ตัวเขาเองเริ่มจากการมีรายได้เพียงเดือนละ 500 บาท โดยเป็นครูสอนภาษาอังกฤษจนมาวันนี้เขามีทรัพย์สินรวมเป็นมูลค่ากว่า 2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ
แจ็ค หม่า กล่าวว่า สาเหตุที่ทำให้คนเราไม่ประสบความสำเร็จ มาจาก ทัศนคติ 4 ประการ
- การมองไม่เห็นโอกาส : ไม่รู้ว่าโอกาสคืออะไร เป็นอย่างไร
- ดูถูกโอกาส :ไม่เชื่อมากพอที่จะลงมือทำ สุดท้ายโอกาสก็ลอยไป
- ขาดความเข้าใจ : แน่นอนว่าทุกอย่างไม่ได้ถูกสร้างเพื่อเข้าใจ แต่ถูกสร้างขึ้นมาให้ทำความเข้าใจ
- ลงมือทำช้าเกินไป นี่คือที่มาของคำว่า “รู้อย่างงี้”
ในกระบวนการวางแผนการเงิน นอกเหนือจากทัศนคติที่ดีแล้ว สิ่งที่สำคัญลำดับต้น ๆ ที่ต้องมี คือ คำว่า “เป้าหมาย”
- ทำอย่างไรให้เป้าหมายเป็นเป้าหมาย ไม่ใช่ เป้าหาย
- ทำอย่างไรให้เป้าหมายเหมือนลมหายใจ ไม่สำเร็จไม่เลิก
หลักการกำหนดเป้าหมายที่ดีใช้หลัก “SMART”
S : Specific คือ ระบุสิ่งที่ต้องการได้อย่างชัดเจน
M : Measurable คือ สามารถวัดผลได้ เพราะถ้าเราไม่สามารถวัดผลสำเร็จจากเป้าหมายได้ เราจะไม่รู้ว่า “เป้าหมายสำเร็จหรือไม่”
A : Accountable คือ ต้องมีความรับผิดชอบและลงมือปฏิบัติจริง
R : Realistic คือ เป็นเป้าหมายที่สมเหตุสมผลและมีโอกาสเป็นไปได้จริง
T : Time Bound คือ มีระยะเวลาที่จะกำหนดการทำเป้าหมายให้สำเร็จไว้อย่างชัดเจน
ตัวอย่าง เป้าหมาย
นาย ก. ผู้จัดการบริษัทเอกชน ปัจจุบันอายุ 40 ปี มีเป้าหมายเกษียณอายุ ตอนอายุ 60 ปี มีเงินเก็บ 20,000,000 บาท ไว้ใช้เดือนละ 80,000 บาท มีสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลรองรับ ไม่เป็นภาระลูกหลาน
วิเคราะห์
S : เป้าหมาย เกษียณอายุตอน 60 ปี ไม่เป็นภาระลูกหลาน มีเงินเก็บไว้ใช้
M : จำนวนเงิน 20,000,000 บาท
A : ลงมือวางแผนการเงิน และปฏิบัติตามแผนที่วางไว้
R : เป้าหมายสมเหตุสมผล รองรับปัญหาเงินเฟ้อ ค่าครองชีพและค่ารักษาพยาบาลที่สูงขึ้น
T : นาย ก. มีเวลาทำงานอีก 20 ปี เพื่อเตรียมเงินไว้ให้พร้อมใช้วันเกษียณ
ดังนั้น คุณจะเห็นได้ว่า เป้าหมายนาย ก.สมบูรณ์แบบ เป็นเป้าหมายที่ SMART
ถ้าวันนี้ปัญหาของคุณ คือ มองไม่เห็นโอกาส ไม่เข้าใจ และยังไม่ลงมือทำ รวมถึงเป้าหมายไม่ SMART ลองมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันนะครับ
Toy DD
IC