การวางแผนมรดก นับเป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับทุกคน ไม่เฉพาะต้องเป็นเรื่องของคนรวยที่มีทรัพย์สินเงินทองมากๆเท่านั้นที่ต้องทำ ไม่ว่าจะมีเงินมากหรือน้อย ก็ไม่ควรมองข้าม พี่Tidawan จะนำเสนอเรื่องราวดีๆ เพื่อเป็นประโยชน์ และยังสร้างความมั่งคั่งและมั่นคงในอนาคตให้กับทุกคน
พี่ Tidawan จะขอเริ่มด้วยเรื่องของ “ภาษี” สำหรับท่านที่มีรายได้ คงต้องเริ่มวางแผนซื้อผลิตภัณฑ์ต่างๆให้ครบ เพื่อนำมาใช้สิทธิลดหย่อนภาษี แต่เรื่องที่พี่ Tidawan จะมาแชร์ในวันนี้ จะเป็นเรื่องของภาษีอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งเกี่ยวข้องกับผู้มีทั้งสินทรัพย์และทรัพย์สินจำนวนหนึ่ง จนเข้าหลักเกณฑ์ของ“การจัดเก็บภาษีมรดกไทย” ซึ่งภาษีที่ได้กล่าวมานี้ หลายๆท่านคงพอจะทราบว่าในประเทศไทยได้ใช้กฎหมายนี้แล้ว
“ใครบ้างที่จะได้กองมรดกของผู้ตาย แน่นอนค่ะย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยสิทธิตามกฎหมาย หรือโดยพินัยกรรม”
1. ทายาทโดยสิทธิตามกฎหมาย ได้แก่ ผู้สืบสันดาน บิดามารดาพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน พี่น้องร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกัน ปู่ ย่า ตายาย ลุง ป้า น้า อา ตามลำดับที่กฎหมายกำหนดไว้
2. ทายาทโดยพินัยกรรม ได้แก่ ผู้รับพินัยกรรม
ขอเล่าต่อในเรื่องประเภทของการจัดเก็บภาษีให้ทราบเลยนะคะ ในประเทศอื่นๆ ทั่วโลกนั้นเค้ามีการจัดเก็บภาษีกันอย่างไร ซึ่งหลักๆ จะมีการจัดเก็บอยู่ 2 ประเภทด้วยกันคือ
1. ภาษีกองมรดก (Estate Tax)
หมายถึงภาษีที่เรียกเก็บหลังจากเจ้ามรดกเสียชีวิต โดยนำทรัพย์สินทั้งหมดมารวมไว้และประเมินภาษีที่ต้องชำระ แล้วค่อยหักชำระตามจำนวนที่ประเมินเหลือเท่าไหร่ จึงค่อยส่งต่อให้ทายาทผู้รับมรดกค่ะ โดยส่วนใหญ่จะเรียกเก็บในอัตราก้าวหน้า (Progressive Rate)
2. ภาษีผู้รับมรดก (Inheritance Tax)
หมายถึงภาษีที่เรียกเก็บกับบุคคลหรือทายาทที่ได้รับมรดกโดยตรงหลังจากเจ้ามรดกเสียชีวิต โดยผู้รับมรดกแต่ละคน จะเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีค่ะ ต่างจาก Estate Tax ที่จะมีการหักภาษีก่อนส่งต่อให้ทายาท
ซึ่งในประเทศไทยเราจะใช้วิธีการจัดเก็บภาษีมรดกแบบ Inheritance Tax ค่ะ คือใครรับมรดกตามเกณฑ์การจัดเก็บ ก็มีหน้าที่ไปเสียภาษีโดยตรงนั่นเองค่ะ
ภาษีการรับให้ (Gift Tax)
หมายถึงภาษีที่เรียกเก็บจากการโอนทรัพย์สินประเภทอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ที่บุคคลหนึ่งได้รับจากการให้โดยเสน่ห์หา ไม่ว่าจะเป็นจากบุคคลอื่นหรือนิติบุคคลก็ตาม ในขณะที่เจ้าของมรดกยังมีชีวิตอยู่ และต่อมาเจ้าของมรดกได้เสียชีวิตภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ ซึ่งการจัดเก็บภาษีประเภทนี้ มีไว้เพื่อป้องกันการหลีกเลี่ยงการเสียภาษีนั่นเองค่ะ
พี่ Tidawan ขอสรุปตารางอัตราภาษีมรดก เพื่อให้อ่านแล้วเข้าใจง่ายขึ้นค่ะ
ดังนั้นการวางแผนมรดกไว้ล่วงหน้า ไม่ว่าจะเป็นการวางแผนการทยอยให้ การเปลี่ยนทรัพย์สินที่เสียภาษีให้เป็นทรัพย์สินที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี เช่น ประกันชีวิต เป็นต้น
ควรพิจารณาถึงความเหมาะสมในการมอบทรัพย์สินมรดก ซึ่งจะช่วยให้ไม่เกิดปัญหากับตัวท่านเองและทายาท เพื่อครอบครัวที่รักดำเนินชีวิตต่อได้อย่างราบรื่น มีความสุข สามารถใช้ชีวิตโดยไม่สะดุด
แล้วพบกับเรื่องราวดีๆได้ที่ DD-Wealth by Tidawan ยินดีให้คำปรึกษากับทุกท่านค่ะ “ไม่ใช่เพื่อตัวเอง แต่เพื่อคนที่คุณรัก” ❤️