ทำไมต้องวางแผนการเงิน ตอนจบ ตอนที่ 5 แผนการเงิน ทำอย่างไร
หากคุณเชื่อว่าแผนการเงิน จะช่วยคุณในฐานะ แผนที่ชีวิต (ตอนที่ 1. ทำไมต้องวางแผนการเงิน ตอนที่1 แผนการเงินคืออะไร)
เชื่อว่าคุณต้องวางแผนการเงินทันทีที่คุณมีเป้าหมายทางการเงิน (ตอนที่ 2. ทำไมต้องวางแผนการเงิน ตอนที่2 แผนการเงิน ต้องทำเมื่อไหร่)
เชื่อว่าหากคุณรักใครสักคนมากพอ คุณจะวางแผนการเงิน เพื่อเขาคนนั้น(ตอนที่ 3. ทำไมต้องวางแผนการเงิน ตอนที่3 แผนการเงิน เพื่อใคร)
และเชื่อว่าคนที่จะวางแผนการเงินให้คุณ คือ คนที่จะพาคุณไปถึงเป้าหมายทางการเงินได้(ตอนที่ 4. ทำไมต้องวางแผนการเงิน ตอนที่ แผนการเงิน โดยใคร)
ขอให้คุณอ่านต่อไปจนจบ
ในตอนสุดท้ายนี้ ทุกคนคงอยากรู้ว่า วางแผนการเงิน ต้องทำอย่างไรเพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจ ง่ายต่อการนำไปใช้ และไม่เป็นทางการมากนัก
ผมขอแบ่งขั้นตอนการวางแผนการเงิน 5 ขั้นตอน ในแบบฉบับของผมเองดังนี้นะครับ
1. รู้ปัจจุบัน
เพื่อให้รู้ว่าคุณยืนอยู่ที่ไหน และควรจะเริ่มเดินไปทางไหน อย่างไร คุณจึงต้องรู้สถานะการเงินในวันนี้ของคุณ ทั้งรายรับ รายจ่าย ทรัพย์สิน หนี้สิน
โดยการทำบัญชีครัวเรือน งบกระแสเงินสด และงบดุล
2. ฝันเห็นอนาคต
เพื่อให้รู้ว่าในอนาคตคุณอยากไปยืนอยู่ที่ไหน เมื่อไหร่ คุณจึงต้องมีเป้าหมายทางการเงินที่ดี ชัดเจนทั้งจำนวนเงิน และเวลาที่ต้องการใช้เงิน
ที่สำคัญคือจัดลำดับความสำคัญของเป้าหมายด้วยเพราะความต้องการของคนเราไม่มีที่สิ้นสุดเป้าหมายที่สำคัญควรได้รับการจัดสรรก่อน
3. ปรากฏเป็นแผน
เพื่อให้รู้ว่าคุณจะไปถึงเป้าหมายได้อย่างไร คุณจึงต้องวางแผนการเงินโดยใช้ข้อมูลจากปัจจุบัน และอนาคตของคุณมากำหนดแผนที่เหมาะสมและปฏิบัติได้จริง
4. ดินแดนแห่งความจริง
เพื่อให้คุณเข้าใกล้เป้าหมายตามแผนการเงิน คุณต้องลงมือทำตามแผนการเงินเท่านั้น การวางแผนที่ดีเลิศมากมายเพียงใดก็ไม่ได้ทำให้ฝันของคุณเป็นจริง
มีเพียงการลงมือทำตามแผนการเงินอย่างมีวินัยเท่านั้นที่จะพาคุณไปสู่เป้าหมายทางการเงินได้
5. วิ่งตามแผน
เพื่อให้รู้อยู่เสมอว่าคุณยังอยู่ในแผนการเงินเพื่อไปถึงเป้าหมายการเงินอยู่หรือไม่ คุณจึงต้องตรวจสอบสถานการณ์เป็นประจำ และสม่ำเสมอโดยกำหนดจากเวลา เช่น ทุก 3 เดือน 6 เดือน หรือ
เมื่อมีเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เกิดขึ้นแล้วอาจส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายทางการเงินของคุณเพราะแผนการเงินที่ดีที่สุด อาจไม่มีอยู่จริง เพราะโลกหมุนตลอดเวลาอะไรก็เกิดขึ้นได้
แต่คุณสามารถปรับแผนให้เหมาะสมที่สุดในแต่ละเหตุการณ์ได้
เมื่อคุณรู้แล้วว่า แผนการเงิน ทำอย่างไร และหากคุณได้อ่านครบทั้ง 5 ตอนแล้ว ผมเชื่อว่าคุณเริ่มจะเข้าใจแล้วว่า ทำไมต้องวางแผนการเงิน
หากมีข้อสงสัย คุณสามารถติดต่อ สอบถามเพื่อขอข้อมูลการวางแผนการเงินเพิ่มเติมได้จากพวกเราทีมงาน dd-wealthในทุกๆช่องทางครับ
พบกันใหม่โอกาสหน้ากับเรื่องราวดีๆ จากเราชาว dd-wealth นะครับ
Chaiwat Pattanapaiboon , CFP®
นักวางแผนการเงิน
นักวางแผนการเงิน