@ประกัน @เก็บออม @ลงทุน เริ่มจากอะไรก่อนดี

@ประกัน @เก็บออม @ลงทุน เริ่มจากอะไรก่อนดี

@ประกัน @เก็บออม @ลงทุน เริ่มจากอะไรก่อนดี

       คนส่วนใหญ่คิด และถามตัวเองแบบนี้เหมือนๆกัน ใช่เลยครับ เพราะทั้ง3 เรื่องนี้ ใกล้เคียงกันมาก จนเป็นเรื่องเดียวกันสำหรับบางคนเลยทีเดียว ขึ้นอยู่กับทัศนคติ และมุมมองจากประสบการณ์ของแต่ละคน ในมุมมองส่วนตัวของผู้เขียน ทั้ง 3 เรื่องนี้ไม่สามารถแยกออกจากได้อย่างชัดเจน ขออธิบายเพื่อง่ายต่อการทำความเข้าใจ แบบนี้นะครับ
       @ประกัน คือ การการันตีเงินที่ควรจะมีในอนาคต
       @เก็บออม คือ การเก็บเงินวันนี้เพื่อให้มีเงินใช้ในอนาคต
       @ลงทุน คือ การเก็บเงินในแบบที่มีผลตอบแทนสูงซึ่งช่วยให้เงินเพิ่มขึ้นเพื่อ ให้มีเงินเพียงพอสำหรับใช้จ่ายในอนาคต

       จุดร่วมที่เหมือนกันของทั้ง 3 เรื่อง คือ เก็บวันนี้ เพื่อมีใช้วันหน้า
    
อธิบายเพิ่มอีกนิด @ประกัน = @เก็บออม = @ลงทุน อ่านไม่ผิดหรอกครับ ในมุมมองของผม ทั้ง 3 เรื่อง เหมือนกัน ดังนั้นการจะตอบคำถามว่าเริ่มจากอะไรก่อนดี ก็ต้องมองถึงความเหมาะสมของแต่ละบุคคล เพื่อเปรียบเทียบให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ขอยกตัวอย่างที่ใกล้เคียงกับชีวิตจริงของผู้ชาย 4 คนครับ โดยทั้ง 4 คน อายุ 40 ปี เป็นมนุษย์เงินเดือน มีรายได้ 100,000 / เดือน ดูแลภรรยา แม่บ้าน อายุเท่ากัน และ บุตรวัยเรียนอีก 2 คน มีความเชื่อว่าหากตนยังมีชีวิตอยู่จะสามารถดูแลครอบครัวได้เป็นอย่างดี และหากตนจากไปก่อนวัยอันควร ครอบครัวควรจะมีเงินที่ตนได้เตรียมไว้มาดูแลต่อไป

       ตัวอย่างที่ 1 นาย ประกัน
       นาย ประกัน เลือกที่จะ@เก็บออม และ @ลงทุน ด้วยการทำ@ประกันจ่ายเบี้ยประกันปีละ 228,300 บาท เป็นเวลา 20 ปี ทุนประกัน 10,000,000 บาท เพราะเชื่อว่า
       1.ชีวิต และความเสี่ยงเป็นสิ่งไม่แน่นอน อะไรก็เกิดขึ้นได้
       2.หากตนมีชีวิตยืนยาวหลังเกษียณอายุ สามารถขอเวนคืนกรมธรรม์ ณ สิ้นปีที่ 20  เพื่อรับเงิน 5,340,000 มาใช้หลังเกษียณอายุได้ (จ่ายเบี้ยรวม 20 ปี = 4,566,000)

       ตัวอย่างที่ 2 นาย เก็บออม
       นาย เก็บออม เลือกที่จะ@ประกัน และ @ลงทุน ด้วยการ@เก็บออมฝากบัญชีออมทรัพย์ปีละ 228,300 บาท จนถึงเกษียณอายุเป็นเวลา 20 ปี เพราะเชื่อว่า
       1.ฝากธนาคารไม่มีความเสี่ยง สภาพคล่องเป็นเรื่องสำคัญ
       2.หากตนมีชีวิตยืนยาวหลังเกษียณอายุ สามารถขอถอนเงินฝากพร้อมดอกเบี้ย ณ สิ้นปีที่ 20 เพื่อรับเงิน 4,813,480 มาใช้หลังเกษียณอายุได้ (ฝากรวม 20 ปี = 4,566,000 ดอกเบี้ยออมทรัพย์ 0.5%ต่อปี)


       ตัวอย่างที่ 3 นาย ลงทุน
       นาย ลงทุน เลือกที่จะ@ประกัน และ @เก็บออม ด้วยการ@ลงทุนในกองทุนรวมตราสารทุนปีละ 228,300 บาท จนถึงเกษียณอายุเป็นเวลา 20 ปี เพราะเชื่อว่า


      1.ดอกเบี้ยธนาคารน้อยมาก และการทำประกันเหมือนแช่งตัวเอง
      2.หากตนมีชีวิตยืนยาวหลังเกษียณอายุ สามารถขายคืนหน่วยลงทุน ณ สิ้นปีที่ 20 เพื่อรับ
       เงิน 14,383,471 มาใช้หลังเกษียณอายุได้ (ลงทุนรวม 20 ปี = 4,566,000 ผลตอบแทนคาด
       หวัง 10%ต่อปี)

       ตัวอย่างที่ 4 : นาย กล้าหารสาม
       นาย กล้าหารสาม เลือกที่จะ@ประกัน @เก็บออม และ @ลงทุน ด้วย
การทำทั้ง 3 เรื่องไปพร้อมกัน ด้วยจำนวนเงินที่เท่ากัน ปีละ 228,300 โดยแบ่งเป็น จ่ายเบี้ยประกันปีละ 76,100 บาท เป็นเวลา 20 ปี ทุนประกัน 3,333,333 บาท ฝากบัญชีออมทรัพย์ปีละ 76,100 บาท และซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมตราสารทุนปีละ 76,100 บาท จนถึงเกษียณอายุเป็นเวลา 20 ปี 
เพราะเชื่อว่า
       1.ชีวิต และความเสี่ยงเป็นสิ่งไม่แน่นอน อะไรก็เกิดขึ้นได้ การฝากธนาคารไม่มีความเสี่ยง 
        สภาพคล่องเป็นเรื่องสำคัญ ดอกเบี้ยธนาคารน้อยมากนรวมตราสารทุนปีละ 76,100 บาท 
        จนถึงเกษียณอายุเป็นเวลา 20 ปี เพราะเชื่อว่า
       2.หากตนมีชีวิตยืนยาวหลังเกษียณอายุ สามารถเลือกรับเงินคืน ณ สิ้นปีที่ 20 จำนวน 
       8,178,983 มาใช้หลังเกษียณอายุได้ (รวม 20 ปี = 4,566,000)

       ตารางเปรียบเทียบต่อไปนี้ จะช่วยให้เห็นภาพ และตัวเลขที่ชัดเจนขึ้นนะครับขอสรุปง่ายๆจากตารางดังนี้นะครับ


       1.นาย ประกัน เลือกได้เหมาะสมที่สุด หากมีอายุขัยอีกไม่เกิน 16 ปี
       2.นาย เก็บออม เลือกได้เหมาะสมที่สุด หากไม่ต้องการความเสี่ยงและ สภาพคล่องเป็นเรื่องสำคัญ
       3.นาย ลงทุน เลือกได้เหมาะสมที่สุด หากมีอายุขัยอีกเกิน 17 ปี และผลตอบแทนจะดีดังที่คาดหวังไว้
       4.นาย กล้าหารสาม เลือกได้เหมาะสมที่สุด หากเชื่อว่าชีวิต และความเสี่ยงเป็นสิ่งไม่แน่นอน อะไรก็เกิดขึ้นได้ การฝากธนาคารไม่มีความเสี่ยง สภาพคล่องเป็น เรื่องสำคัญ ดอกเบี้ยธนาคารน้อยมาก


 


“ 
อย่ามองแค่ เพียงปลายทาง ที่สวยหรู จากตัวอย่างทั้ง 4 คน และตารางเปรียบเทียบ ผมอยากแนะนำให้คุณทำทั้ง 3 เรื่องไปพร้อมๆกัน โดยปราศจากอคติใดๆ นอกจากคุณจะล่วงรู้อนาคตของคุณ เพราะอนาคตเป็นสิ่งไม่แน่นอน ชีวิต ความเสี่ยง และผลตอบแทน ก็เช่นกันโปรดจงดู ตลอดทาง ที่เดินผ่านอย่าเห็นเพียง เส้นชัย อลังการโปรดจ้องตาม คนที่ล้ม อีกมากมี “


หากมีข้อสงสัย คุณสามารถติดต่อ สอบถาม เพื่อขอข้อมูลการวางแผนการเงินเพิ่มเติมได้จากพวกเราทีมงาน dd-wealth ในทุกๆช่องทางครับพบกันใหม่โอกาสหน้ากับเรื่องราวดีๆ จากเราชาว dd-wealth นะครับ

 

Chaiwat Pattanapaiboon , CFP®
นักวางแผนการเง