'Cash back' จากประกัน...
หลายท่านที่เคยทำประกันไว้ ไม่ว่าจะเป็นประกันชีวิตและประกันวินาศภัยคงจะคุ้นเคยกับคำว่า ‘สินไหมทดแทน’ กันแล้วนะคะ แต่วันนี้อุ๊จังจะมาขยายความให้เห็นภาพมากขึ้น และเผื่อว่าท่านใดยังสงสัยหรือไม่เข้าใจคำว่า ‘การชดเชยค่าสินไหมทดแทน’ จะได้เข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้นค่ะ
การชดเชยค่าสินไหมทดแทน คือการชดเชยความเสียหายซึ่งเกิดจากภัยใดๆ ก็ตามที่ได้เอาประกันภัยไว้ โดยบริษัทซึ่งรับประกันภัยจะต้องชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นตามจริงแก่ผู้เอาประกันภัย
วัตถุประสงค์ของการทำ ‘ประกันวินาศภัย’ คือเพื่อคุ้มครองทรัพย์สินเท่ากับมูลค่าแท้จริงของทรัพย์สินนั้นๆ โดยจะจ่ายเป็นตัวเงิน ซ่อมคืน หรือจัดหาสิ่งของมาทดทดแทนให้
ยกตัวอย่างเช่น
นายปกป้องทรัพย์ทำประกันอัคคีภัยบ้านไว้จำนวน 5,000,000 บาท แต่เกิดไฟฟ้าลัดวงจรไฟไหม้หลังบ้านตีความเสียหายเป็นจำนวนเงิน 1,000,000 บาท บริษัทผู้รับประกันก็จะจ่ายสินไหมทดแทนเท่ากับความเสียที่เกิดขึ้นจริงคือ 1,000,000บาท เท่านั้นค่ะ
ตัวอย่างที่สอง
ในกรณีซื้อประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 เอาไว้ ทว่าวันหนึ่งเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ขับรถชนต้นไม้ที่บ้าน จึงโทรแจ้งประกันเผื่อทำการเคลม โดยประกันก็จะรับผิดชอบซ่อมรถให้กลับสู่สภาพเดิม แบบนี้เป็นต้นค่ะ
แต่ถึงอย่างนั้นก็มีทรัพย์สินบางอย่างที่ไม่สามารชดเชยสินไหมทดแทนแบบในตัวอย่างด้านบนได้นะคะ เช่น วัตถุโบราณซึ่งไม่สามารถประเมินค่าได้ ทางบริษัทผู้รับประกันจะมีการประเมินราคาและกำหนดจำนวนเงินชดเชยเอาไว้เลยล่วงหน้า
ประกันวินาศภัยจะแตกต่างจากการทำประกันชีวิต คือการทำประกันชีวิตสามารถทำได้ไม่จำกัด ไม่มีกำหนดว่าต้องทำเท่าไหร่ ขึ้นอยู่กับความพอใจและวัตถุประสงค์การทำประกันของผู้เอาประกัน โดยบริษัทที่รับประกันจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนตามทุนประกันที่ได้ทำไว้ และบริษัทผู้รับประกันนี้ก็ไม่มีสิทธิ์ที่จะสวมสิทธิ์เรียกร้องค่าเสียหายจากบุคคลภายนอกได้
ตัวอย่างเช่น
นายปกป้องทรัพย์ประกอบอาชีพเป็นเจ้าของกิจการส่งออก มีความประสงค์จะทำประกันชีวิตทุนประกันที่ 100,000,000 บาท โดยระบุผู้รับผลประโยชน์คือลูกชายเพื่อเป็นมรดกให้เวลาที่เขาจากไป และให้ลูกสานต่อธุรกิจอันเป็นที่รักต่อจากตนเอง หรือมาดูอีกสักตัวอย่างหนึ่งเพื่อความเข้าใจมากขึ้นนะคะ
นายดีดีกู้ซื้อบ้านจำนวนเงิน 5,000,000 ล้านบาท และได้ทำประกันเพื่อคุ้มครองภาระหนี้ที่ทุนประกัน 5,000,000 บาท ถ้ากรณีนายดีดีเกิดเสียชีวิต ครอบครัวก็ไม่ต้องเป็นภาระในการผ่อนบ้านต่อ
เป็นอย่างไรบ้างคะ พอเข้าใจเกี่ยวกับการชดเชยสินไหมทดแทนมากขึ้นแล้วใช่ไหม แต่ถ้าท่านใดยังมีข้อสงสัยสามารถสอบถามกับอุ๊จังและทีมงาน DD-Wealth ได้เสมอเลยนะคะ
ด้วยรักและห่วงใย จากใจ DD-Wealth ค่ะ ^_^
AU, IC
DD-Wealth