Cash Back จากสรรพากร

Cash Back จากสรรพากร

    นอกจากการหักลดหย่อนภาษีด้วยวิธีการต่างๆ แล้ว การทำประกันชีวิต ก็เป็นหนึ่งในวิธีการลดหย่อนภาษีตามนโยบายของรัฐ มีเป้าหมายเพื่อกระตุ้นการออมของประชาชนให้เกิดขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนมีเงินออมเอาไว้ใช้ในอนาคตเมื่อถึงวัยเกษียณ โดยไม่เป็นภาระให้กับลูกหลาน ช่วยให้สามารถดำเนินชีวิตหลังเกษียณได้อย่างมีความสุข

       สำหรับการลดหย่อนภาษีด้วยการทำประกันชีวิต  วันนี้เราจะมาคุยในส่วนของการทำประกันชีวิตให้ตนเองกันก่อนนะคะ โดยจะขอกล่าวถึงในส่วน ‘หนึ่งแสนแรก’ และ ’สองแสนหลัง’

 

แสนแรก หมายถึง การหักภาษีลดหย่อนได้ไม่เกิน 1 แสนบาท

สองแสนหลัง จะสามารถหักลดหย่อนได้มากสุดที่ 2 แสนบาท แต่จะไม่สามารถเกิน 15% ของรายได้ เมื่อรวมกับเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ + เงินสะสมเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ +เงินสะสมเข้ากองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน + เงินที่ซื้อหน่วยลงทุน RMF + เงินสะสมเข้ากองทุนการออมแห่งชาติ  เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท  และต้องเป็นประกันชีวิตประเภทบำนาญเท่านั้นจึงจะสามารถนำมาลดหย่อนภาษีในส่วนนี้ได้

 

ตัวอย่างเช่น

       คุณสมหญิง มีรายได้ปีละ 1,400,000 บาท หมายความว่าคุณสมหญิงมีฐานภาษีอยู่ที่ 25% คุณสมหญิงสามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 300,000 บาท โดยสามารถเลือกชื้อประกันชีวิตแบบทั่วไปได้ 100,000 บาท และแบบบำนาญได้ 200,000 บาท หรือจะชื้อแบบบำนาญเลยทีเดียว 300,000 บาทก็ได้ ถ้าคุณสมหญิงใช้สิทธิ์ลดหย่อนเต็มที่ คุณสมหญิงจะได้รับ cash back คืนจากกรมสรรพากร 75,000 บาท จากตรงนี้คุณสมหญิงสามารถนำไปลงทุนเพื่อขยายผลสร้างความมั่งคั่งต่อได้เลยค่ะ

 

เงื่อนไขของการขอลดหย่อนภาษี

เบี้ยประกันชีวิตและสุขภาพ

 

1. ต้องเป็นกรมธรรม์ที่มีความคุ้มครองมากกว่า 10 ปีขึ้นไป และผู้เอาประกันจะต้องอาศัยและทำงานอยู่ในประเทศไทย

2. กรมธรรม์ประกันชีวิตที่มีการรับเงินคืนหรือผลประโยชน์ตอบแทนคืนในระหว่างอายุกรมธรรม์ต้องเป็นไปตามเงื่อนไข ดังนี้

    (2.1) กรณีที่ได้รับเงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนคืนทุกปี จะต้องไม่เกินร้อยละ 20 ของเบี้ยประกันชีวิตที่เราจ่ายรายปี

    (2.2) กรณีที่ได้รับเงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนคืนตามช่วงระยะเวลาที่บริษัทประกันภัยกำหนด เช่นทุก 2ปี  3ปี  หรือ 5 ปี  เป็นต้น จะต้องไม่เกินร้อยละ 20 ของเบี้ยประกันชีวิตสะสมของแต่ละช่วงเวลาที่บริษัทประกันภัยกำหนดให้มีการจ่ายเงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนคืน

3. เบี้ยประกันชีวิตและเบี้ยประกันสุขภาพ  สามารถนำมาหักลดหย่อนได้  โดยในส่วนของเบี้ยประกันสุขภาพ  สามารถนำมาลดหย่อนได้ ตามวงเงินที่จ่ายจริงหรือไม่เกิน  15,000 บาทต่อปี  และเมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตหลักสามารถนำมาลดหย่อนได้ไม่เกิน  1 แสนบาทต่อปี


       ดังนั้นเราจะเห็นได้ว่าการทำประกันเป็นการวางแผนการเงินรูปแบบหนึ่ง ที่จะช่วยให้เราสามารถวางแผนทางการเงินได้อย่างมั่งคั่งและมั่นคง ช่วยให้เกิดการคุ้มครองทั้งตนเองและคนในครอบครัวให้ได้รับผลประโยชน์อีกทางหนึ่งด้วยค่ะ

 

       หากสนใจวางแผนการเงินแต่ไม่รู้จะเริ่มที่จุดไหน DD-Wealth มีคำแนะนำดีๆ ให้คุณเสมอนะคะ


SALAKJIT DD

IC